ยินดีต้อนรับสู่บ้านเห็ดสาขานครสวรรค์เปิดอบรมรุ่นที่2556แล้วนะครับ บ้านเห็ดสาขานครสวรรค์ได้เสนอโครงการสร้างโรงเห็ดเมืองร้อน Hitechไว้ที่หน้า ประวัติสาขานครสวรรค์

การอบรมรุ่นที่17

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด

เห็ด เป็นราชนิดหนึ่งที่ไม่ได้จัดว่าเป็นพื่ชหรือสัตร์ ไม่มีคลอไรฟิลล์ เห็ดจึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และไม่ต้องใช้แสงแดดในการเจริญเติบโต
 วงจรชีวิตของเห็ดทุกชนิดนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยเริ่มจากสปอร์ และเริ่มเริ่มสร้างตัวเป็นกลุ่มรา แล้วโตต่อไปเป็นกลุ่มก้อนของดอกเห็ด เมือเห็ดเจริญเติบโตแล้วก็จะสร้างสปอร์ซึ่งจะปลิวและงอกใหม่เป็นใยรา หมุนวียนเช่นนี้ตลอดไป
ลักษณะของเห็ด
  ได้ตามการจำแนกดังต่อไปนี้
       1.การจำแนกทางพืชสวน
          1.1ตามการรับประทาน แบ่งได้เป็น 2 แบบ
             1.1.1 เห็ดรับประทานได้(Edible Mushroom)เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางลม เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า ฯ และเห็ดป่าบางชนิดที่ไม่มีพิษ เช่น เห็ดเผาะ เห็ดโคน เป็นต้น
             1.1.2 เห็ดพิษ (Poisonous Mushroom)คือเห็ดพิษชนิดต่างๆ เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดกระโดงตีนต่ำ เป็นต้น
         1.2 ตามสภาพธรรมชาติ
         1.3 ตามอุณหภูมิที่ใช้ในการเติบโต
         1.4 ตามการใช้ประโยชน์
      2.การจำแนกตามหลักพฤกษศาสตร์ตามการเลี้งดูแบ่งได้ 2 ชนิด
         2.1เห็ดที่นำมาเพาะเลี้ยงกันเป็นปกติได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดกระดุม เห็ดนางรม เห็ดฟาง
 เห็ดแชมปิยอง เห็ดหลินจือ เห็ดลม เห็ดกระด้าง เห็ดตีนแรด เป็นต้น
         2.2 เห็ดที่ไม่มีการเพราะเลี้ยงคือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ เห็ดโคน เห็ดตับเต่า เห็ดขิง    เห็ดพิษ เป้นต้น
 2.2.1หมวกเห็ด เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดที่เจริญเติบโตขึ้นในอากาศ
 2.2.2ครีบ จะอยู่ใต้หมวกเห็ด
 2.2.3ก้านดอก มีขนาดใหญ่มีความอ้วนกลมแตกต่างกันตามลักษณะของพันธุ์เห็ด
 2.2.4วงแหวนมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ยึดก้านดอกและขอบหมวกของเห็ด
 2.2.5เปลือกหุ้มโคน อยู่บริเวณชั้นนอกสุดที่หุ้มดอกเห็ดเอาไว้
 2.2.6สปอร์ เกิดจากกสรผสมพันธุ์ของเห็ดและแบ่งตัวกลายเป็นสปอร์ปลิดไปตามลม ลอยไปใน
        อากาศเพือไปแพร่พันธุ์ต่อไป
เห็ดนางฟ้า
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju(Fr.) Sing.
ชื่ออื่น : เห็ดแขก
ถิ่นกำเนิด : แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย

ลักษะทางพฤกษศาตร์ : เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดสกุลเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ มีลักษณะดอกเห็ดคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าจะมีสีขาวอ่อนกว่า ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาว ขนาดยาวไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวอยู่ชิดติดกันมากกว่าครีบดอกเห็ดเป๋าฮื้อ เส้นใยค่อนข้างละเอียด
ฤดูกาล : เห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนเมษายน
แหล่งปลูก : เจริญเติบโตตามตอไม้ผุๆ บริเวณที่อากาศชื้นและเย็น
การกิน : เห็ดนางฟ้ามีกลิ่นหอม เนื้อแน่น รสหวาน นำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นเห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ผัดเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าผัดกระเพรา ห่อหมกเห็ดนางฟ้า ยำเห็ดนางฟ้า เมี่ยงเห็ดนางฟ้า แหนมสดเห็ดนางฟ้า ใส่ในต้มโคล้งหรือต้มยำ เป็นต้น เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้
สรรพคุณทางยา : ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer
เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี
อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก
ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้
วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้า
วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้าก็เป็นแบบเห็ดทำลายไม้ทั่ว ๆ ไป คือมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูอัตคัด ด้วยคลามีโดสปอร์ในท่อนไม้ พอถึงฤดูชุ่มชื้นก็งอกออกมาเป็นเส้นใย แล้วสร้างดอกเห็ดขึ้น ปล่อยสปอร์ลอยไป สปอร์งอกเป็นเส้นใยแล้วเจริญไปบนอาหารจนสร้างดอหเห็ดอีก วนเวียนไปอย่างนี้
เห็ดนางฟ้าเติบโตดีที่ pH. 5 - 5.2 (คือเป็นกรดเล็กน้อย) อุณหภูมิที่เหมาะมากต่อเส้นใยคือ 32 องศาเซลเซียส และสร้างดอกเห็ดได้ดีที่ 25 องศาเซลเซียส เส้นใยสีขาวจัด มีความสามารถเชื่อมต่อเส้นใยได้ดี ใช้น้ำตาลในแง่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตได้ดีกว่าพวก โพลีแซคคาไรค์ หรืออาหารซับซ้อน

ก่อนอื่นขอแนะนำ โรคของเห็ดถุงสามารถแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรคได้ดังนี้

1.โรคของเห็ดถุงที่เกิดจาดเชื้อมีสาเหตุ ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบักเตรี หรือเชื้อไวรัส

2.โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ
โรคที่เกิดจากเชื้อรา               
1.เชื้อราดำกลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus sp)ลักษณะที่พบทั่วไปของถุงเห็ด คือ บางส่วนของถุงเห็ดมีสีเขียวเข้มเกือบดำ อาจเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได บางส่วนของถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้ม               
 2.เชื้อราดำโบไตรดิฟโพลเดีย (Botryodiplodia sp) จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก
 3.เชื้อรากลุ่มราเขียว (Trichoderma sp,Gliocladium sp) ลักษณะการปนเปื้อนจะสังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อเกิดรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด
 4.ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส (Penicillium sp, Paecelomyces sp) เชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างทางสัญฐานวิทยาคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก เชื้อราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง ลักษณะบนถุงเห็ดจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวตอง่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเทาอ่อนมองดูคล้ายฝุ่นเกาะสกปรก มักเกิดบริเวณด้านล่างของถุงเห็ด ส่วนเชื้อราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ มักจะเกิดกับถุงเห็ดหอม ลักษณะที่ปรากฏ คือ มองเห็นเป็นฝุ่นสีซีด เช่น สีน้ำตาล ชีดๆ ปนเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองชีดจางๆ สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราได้อย่างชัดเจน
 5.ราสีส้มหรือราร้อน (Neurospora sp) มักเกิดเป็นกระจุกบริเวณปากถุงมีลักษณะเป็นผลสีชมพูอมส้ม หรือเป็นก้อนติดเสียก่อน
 6.ราเมือก (Slime mould) จะเกิดกับถุงเห็ดที่เปิดถุงเก็บดอกไปแล้วหลายรุ่นและเป็นถุงที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเหลืองชัดเจนบริเวณด้านข้างถุงและบริเวณปากถุงโดยมากมักจะเกิดกับเห็ดหูหนูที่มีการกรีดถุงด้านข้างและรดน้ำนานๆ จนทำให้ถุงชื้นแฉะนอกจากนี้ยังเกิดได้กับถุงเห็ดภูฐานที่หมดรุ่นแล้วแต่ยังไม่มีการขนย้ายทำความสะอาดโรงเรือน


โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปเกิดได้ทั้งเชื้อราปนเปื้อนหรือแข่งขัน และเชื้อราโรคเห็ด ซึ่งเชื้อราปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีเส้นใยเจริญเร็วมาก ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตที่เส้นใยเห็ดมาบรรจบกันเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อน การเกิดเชื้อราปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดมักเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเห็ดลดลง ถ้ามีเชื้อราเหล่านี้เกิดบริเวณปากถุงก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดไปทั่วทั้งโรงเพาะเห็ดได้รับความเสียหายได้ผลผลิตลดลง

สาเหตุของการเกิดเชื้อราปนเปื้อนมีหลายประการ เช่น การทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกแล้วในบริเวณฟาร์ม ทำให้เชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อมีฝนตก ลมพัด หรือตกลงไปในน้ำที่นำใช้รดเห็ด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกเช่น หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ การนึ่งฆ่าเชื้อถุงเห็ดที่ทำลายเชื้อไม่หมด ถุงแตกหรือถูกแมลงทำลาย เป็นต้น
สำหรับการป้องกันการเกิดเชื้อราปนเปื้อนในการเพาะเห็ดถุงมีดังนี้
1.ตรวจสอบความสะอาดและความบริสุทธิ์ของหัวเชื้อก่อนซื้อ
2.การถ่ายเชื้อควรทำในห้องที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคอื่นๆ หรือเป็นบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท
3.คัดแยกถุงเห็ดเสีย ถุงเห็ดแตก ถุงเห็ดที่มีจุกสำลีชื้น นำไปนึ่งใหม่หรือเผาทำลายเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา
4.ใช้เชื้อพลายแก้ว หมักขยายเชื้อ ด้วย น้ำมะพร้าว หรือนมUHT หรือไข่ไก่ หรือนมข้นหวาน http://www.thaigreenagro.com/product/order.aspx?productID=107 แล้วแต่ตามวัสดุที่มี หมักขยายเชื้อ จนครบ 24-48 ชั่วโมง ทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 4-5 ครั้งในช่วงที่ระบาดมาก ๆ  โดยการใช้เข็มสลิงฉีดพ่นเข้าไปในก้อนเห็ด
5.รักษาความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด และบริเวณโดยทั่วไปรอบๆ ฟาร์ม
6.เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้ว ควรพักโรงเรือนเพาะเห็ดประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพื่อทำความสะอาดและฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงหรือเชื้อราที่อาจซุกซ่อนตามพื้น เสา และฝาผนังก่อนนำถุงเชื้อเห็ดชุดใหม่เข้ามา ถ้าเป็นไปได้ควรแยกโรงเรือนบ่มกับโรงเรือนเปิดดอกไว้คนละหลังกัน

โรคที่เกิดจากเชื้อบัคเตรี
1.โรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดภูฐาน เกิดจากเชื้อบักเตรีซูโดโมแนส โทลลาสซิไอ ซึ่งมีลักษณะอาการของโรค คือ หมวกเห็ดด้านบนเป็นจุดสีเหลืองอ่อนแล้ว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขยายไปทั่วหมวก ส่วนแผลที่ก้านดอกเป็นปื้นสีเหลืองหรือน้ำตาลแดง แผลจะยุบตัวได้เมื่อให้น้ำไปเกาะที่ตรงส่วนนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายของเชื้อบักเตรี โรคนี้จะทำให้ดอกเห็ดมีขนาดเล็กกว่าปกติ ผิวหมวกมีสีน้ำตาลอ่อนช้ำง่ายไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
2.โรคจุดสีน้ำตาลโรคเน่าเหลืองของเห็ดสกุลนางรม (เห็ดนางรม เห็ดภูฐาน) เกิดจากเชื้อบักเตรีกลุ่มเรืองแสงชื่อ ซูโดโมแนส ฟลูโอเรสเซน โดยเห็ดเป๋าฮื้อจะมีอาการเริ่มแรกสังเกตได้จากดอกเห็ดที่โผล่พ้นคอขวดมีสีเหลืองซีดๆ บางดอกมีลักษณะม้วนงอ ไม่สมบูรณ์ ดอกไม่พัฒนา ส่วนดอกที่เจริญออกมาได้หมวกดอกจะไม่บานเต็มที่ กลุ่มของช่อดอกมีตั้งแต่ 2-4 ดอก ก้านลีบเป็นกระจุก หมวกดอกด้านบนและล่างรวมทั้งก้านดอกมีจุดสีน้ำตาลอ่อนประปราย จากนั้น 1-2 วัน จุดสีน้ำตาลจะเข้มขึ้น และดอกเห็ดบริเวณนี้จะยุบตัว


ส่วนอาการเน่าเหลืองของเห็ดนางรมหรือเห็ดภูฐาน
ดอกเห็ดที่โผล่พ้นคอขวดออกมาจะมีสีเหลือง ดอกมีขนาดเล็กผิดปกติ บางดอกมีลักษณะม้วนงอ ดอกเหี่ยวเหลืองทั้งกระจุกและไม่พัฒนา ซึ่งอาการเหี่ยวเหลืองจะแตกต่างจากอาการเหี่ยวเหลืองที่ดอกเห็ดขาดความชื้นเพียงพอแต่ดอกเห็ดรุ่นใหม่ก็ยังมีอาการเหี่ยวเหลืองอยู่ แสดงว่าเห็ดมีอาการเหี่ยวเหลืองเนื่องจากเชื้อบักเตรี ทำให้เก็บผลิผลิตไม่ได้ และถ้าปริมาณเชื้อบักเตรีมีมาก ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหายหมดทั้งรุ่น

สำหรับการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อบักเตรี มีข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเชื้อบักเตรี ดังนี้
1.ลดความชื้นในโรงเพาะไม่ให้เกิน 80-85 เปอร์เซ็นต์
2.การรดน้ำควรให้ผิวหน้าของดอกเห็ด (ดอกอ่อน) แห้งภายใน 3 ชั่วโมง และหลังการให้น้ำทุกครั้ง ไม่ควรให้มีหยดน้ำเกาะค้างอยู่บนดอกเห็ด
3.หากจำเป็นใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ให้รดน้ำคลอรีน อัตราส่วน 250-300 ซีซี / น้ำ 40 แกลลอน หรือ 10 ซีซี / น้ำ 1 ปี๊บ (น้ำคลอรีน คือการใช้สารละลายคลอร็อกซ์หรือไฮเตอร์ละลายน้ำ เพื่อทำให้ความเข้มข้นเจือจางลง จะได้น้ำคลอรีนที่เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไป)

  1. 1.              โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
พบในเห็ดนางรม โดยมีลักษณะอาการดังนี้ คือ หมวกเห็ดม้วนขึ้นหรืองอลง ดอกมีขนาดเล็ก ขอบดอกไม่เรียบ เมื่อถูกน้ำจะฉ่ำน้ำกว่าปกติ หรือดอกแคระแกร็น ช่อดอกสั้นเป็นกระจุก เชื้อไวรัสชนิดนี้ถ่ายทอดได้โดยวิธีสัมผัส และป้องกันโดยไม่นำดอกที่ไม่รับการตรวจสอบหรือสงสัยว่าเป็นโรคไปทำพันธุ์ (ต่อดอก)
  1. 2.              โรคที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ
โรคที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ คือ โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ได้แก่ ความแปรปรวนของอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคเป็นสาเหตุของความผิดปกติ สำหรับโรคที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุที่พบในประเทศไทย คือ โรคดอกหงิกของเห็ดสกุลนางรม ได้แก่ เห็นนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน เห็ดนางรมฮังการี และเห็ดเป๋าอื้อ โดยคาดคะเนว่าเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เชื้ออ่อนแอ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป หรืออากาศร้อนจัด เป็นต้น


ลักษณะอาการของโรคดอกหงิกที่พบในเห็ดนางรมและเห็ดภูฐาน
จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ดอกเห็ดเกิดเป็นกระจุกๆ ละหลายดอก ประมาณ 5-15 ดอก แต่ละดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 เซนติเมตร บางดอกมีขนาดใหญ่กว่านี้เล็กน้อยแต่ไม่เกิน 4 ซม. หมวกดอกไม่บานหรือไม่คลี่ออก ก้านดอกอาจเกิดเดี่ยวหรือติดเป็นเนื้อเดียวกันจากก้านของดอกเห็ด 3-4 ดอก ไม่มีลักษณะของหมวกดอกปกติให้เห็น ขอบหมวกหงิกงอหยักไปมา หรือขอบหมวกม้วนออก ส่วนอีกลักษณะหนึ่งที่พบ คือ มีความผิดปกติที่ก้านซึ่งค่อนข้างยาวบิดเบี้ยวไม่มีหมวกเห็ด หรือก้านดอกเห็ดใหญ่ผิดปกติ หมวกดอกมีลักษณะเป็นกรวยคล้ายปากแตร ดอกเล็กไม่คลี่บาน ส่วนสีของดอกเห็ดนั้นยังคงมีสีขาวหรือสีขาวนวลปกติหรือสีเทาอ่อน
สำหรับอาการบนเห็ดเป๋าอื้อ จะแตกต่างกับเห็ดนางรมและเห็ดภูฐาน คือ ก้านดอกจะสั้นผิดปกติ มีลักษณะลีบไม่สมบูรณ์ หมวกดอกมีขนาดเล็กบิดเบี้ยว ดอกไม่คลี่บานออก ในดอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะไม่บานเต็มที่ ขอบดอกหยักโค้งไปมา บางดอกขอบอกม้วนลงหงิกงอ หมวกดอกแตกเป็นติ่งเล็กบนก้านดอกเดียวกัน สีดอกเห็ดมีสีเทาดำทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
หากพบเห็ดสกุลนางรมแสดงอาการของโรคดอกหงักดังที่กล่าวจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังนี้
1.การถ่ายเทอากาศ โรงเรือนที่เพาะเห็ดจะต้องมีช่องระบายอากาศอย่างเพียงพอควรเปิดประตูและหน้าต่างในตอนเช้ามือเพื่อระบายอากาศ และป้องกันการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2.แสงสว่าง ตรวจความเข้มของแสงในโรงเพาะให้เพียงพอพอกับการพัฒนาเจริญเติบโตของดอกเห็ด โดยใช้วิธีเปิดช่องหน้าต่างหรือช่องแสง หรือใช้แสงไฟช่วย โดยเฉพาะในช่วงเก็บดอกเห็ดตอนเช้ามือ
3.ความชื้น ควรตรวจตราความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายนอกและภายในโรงเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปความชื้นสัมพันธ์ในระยะเปิดดอกจะอยู่ระหว่าง 80-90 เปอร์เซ็นต์และความชื้นในโรงเพาะจะมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงต่ำของอากาศภายนอก ดังนั้นในฤดูหนาวที่มีอากาศแห้งความชื้นต่ำ ควรใช้ผ้าพลาสติกบุโรงเรือนด้านในปิดประตูหน้าต่างโรงเรือนไว้ป้องกันความชื้นระเหยให้น้ำวันละ 3 เวลา ก็จะช่วยให้โรงเรือนเปิดดอกมีความชื้นพอเหมาะส่วนในฤดูร้อน อุณหภูมิและอากาศภายนอกโรงเรือนจะสูง การรักษาความชื้นจะกระทำโดยให้น้ำวันละหลายครั้ง รวมทั้งน้ำที่พื้นโรงเรือน ข้างฝา และหลังคา มีการระบายอากาศภายในโรงเรือนก็จะช่วยให้โรงเรือนมีความชื้นได้ตามต้องการ
4.สูตรอาหาร จะต้องเป็นสูตรอาหารที่ได้มาตรฐานมีส่วนประกอบที่เหมาะสมกับความต้องการของเห็ด เพราะการเตรียมวัสดุเพาะผิดไป การย่อยสลายของวัสดุเพาะ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ของวัสดุจะไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้คุณภาพของวัสดุเพาะเห็ดและธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไปด้วย

มีเกษตรกร ที่เพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานดำ ขายส่งตามตลาดนัด หน้าโรงงาน ในย่านนั้น บอกว่าเดือน 2 เดือนแรกที่เอาเห็ดมาลงไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่พอในช่วงหน้าร้อนต้องให้น้ำบ่อย จึงทำให้ดอกเห็ด เล็ก ฉ่ำน้ำ และมีแมลงเข้ามารบกวน พวกแมลงหวี่ ไรเห็ด เข้ามาทำลายดอก ทำให้ดอกไม่สวย หงิกงอ เป็นสีเหลืองช้ำ ๆ บางทีออกมาดอกไม่ทันจะบานก็แห้งเหี่ยว ส่วนก้อนเชื้อก็มีราเมือก บางก็ราสีส้ม ราเขียว เห็ดออกมาก็ต้องทิ้งอย่างเดี่ยวไม่กล้าเอาไปขายกลัวเสียลูกค้า เพราะเห็ดดอกไม่สวยเลย จนได้เข้ามาปรึกษาที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ทางชมรมได้แนะนำ เชื้อจุลินทรีย์บีเอสพลายแก้ว  ไปกำจัดเชื้อราบาซิลลัสไมโตฟากัส กำจัดไรเห็ด และแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด  กระตุ้นให้เห็ดออกดอกในหน้าร้อน เพื่อให้เพียงพอกับตลาด  วิธีการใช้ของท่านผู้นี้คือ จะใช้เชื้อพลายแก้วหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อนบ้าง  นมไวตามิลล์บ้างแล้วแต่สับเปลี่ยนกันในอัตรา 5 กรัม(1 ช้อนชา) ใส่ลงไปในน้ำมะพร้าวแง้มฝาแล้วใส่เชื้อ ทิ้งไว้ครบ 24 ชั่วโมง  และก็หมัก บาซิลลัส ไมโตฟากัส หมักเช่นเดียวกันกับเชื้อพลายแก้ว ทิ้งไว้ครบ 24 ชั่วโมง โดยการหมักจะหมักแยกกัน  จากนั้นน้ำมา 20 ลิตร ใส่เชื้อทั้ง 2 ตัวที่หมักขยายแล้ว ลง ไป ฉีดพ่นหน้าก้อน ทุก 2-3 วัน ในช่วงที่ระบาดมาก ๆ แล้วก็ใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดฉีดพ่น หน้าก้อนเห็ดบาง ๆ ทุก 3 วัน  ส่วนเรื่องการให้น้ำ จะให้น้ำทุก ๆ 3 ชั่วโมง เปิดสปิงเกอร์แบบเป็นฝอย นาน 1 นาที   ท่านผู้นี้บอกว่าหลังจากที่ได้ใช้เชื้อพลายแก้ว ไมโตฟากัส ไรเห็ดลดน้อยลงเรื่อย ๆ และเชื้อราที่เป็นราเมือก และราส้ม ก็ยังมีอยู่บ้างบางก้อนแต่ก็น้อยลง และเมื่อใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด  เห็ดก็ออกดอกดี เก็บขายได้เยอะดี

ก่อนอื่นผู้เขียนขอแนะนำให้มาทำความรู้จัก โรดของเห็ดก่อนนะค่ะ  โรคของเห็ดถุงสามารถแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรคได้ดังนี้1.โรคของเห็ดถุงที่เกิดจาดเชื้อมีสาเหตุ ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบักเตรี หรือเชื้อไวรัส2.โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ
โรคที่เกิดจากเชื้อรา                1.เชื้อราดำกลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus sp)ลักษณะที่พบทั่วไปของถุงเห็ด คือ บางส่วนของถุงเห็ดมีสีเขียวเข้มเกือบดำ อาจเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได บางส่วนของถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้ม                2.เชื้อราดำโบไตรดิฟโพลเดีย (Botryodiplodia sp) จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก
               3.เชื้อรากลุ่มราเขียว (Trichoderma sp,Gliocladium sp) ลักษณะการปนเปื้อนจะสังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อเกิดรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด
               4.ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส (Penicillium sp, Paecelomyces sp) เชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างทางสัญฐานวิทยาคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก เชื้อราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง ลักษณะบนถุงเห็ดจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวตอง่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเทาอ่อนมองดูคล้ายฝุ่นเกาะสกปรก มักเกิดบริเวณด้านล่างของถุงเห็ด ส่วนเชื้อราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ มักจะเกิดกับถุงเห็ดหอม ลักษณะที่ปรากฏ คือ มองเห็นเป็นฝุ่นสีซีด เช่น สีน้ำตาล ชีดๆ ปนเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองชีดจางๆ สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราได้อย่างชัดเจน
               5.ราสีส้มหรือราร้อน (Neurospora sp) มักเกิดเป็นกระจุกบริเวณปากถุงมีลักษณะเป็นผลสีชมพูอมส้ม หรือเป็นก้อนติดเสียก่อน
               6.ราเมือก (Slime mould) จะเกิดกับถุงเห็ดที่เปิดถุงเก็บดอกไปแล้วหลายรุ่นและเป็นถุงที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเหลืองชัดเจนบริเวณด้านข้างถุงและบริเวณปากถุงโดยมากมักจะเกิดกับเห็ดหูหนูที่มีการกรีดถุงด้านข้างและรดน้ำนานๆ จนทำให้ถุงชื้นแฉะนอกจากนี้ยังเกิดได้กับถุงเห็ดภูฐานที่หมดรุ่นแล้วแต่ยังไม่มีการขนย้ายทำความสะอาดโรงเรือน


โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปเกิดได้ทั้งเชื้อราปนเปื้อนหรือแข่งขัน และเชื้อราโรคเห็ด ซึ่งเชื้อราปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีเส้นใยเจริญเร็วมาก ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตที่เส้นใยเห็ดมาบรรจบกันเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อน การเกิดเชื้อราปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดมักเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเห็ดลดลง ถ้ามีเชื้อราเหล่านี้เกิดบริเวณปากถุงก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดไปทั่วทั้งโรงเพาะเห็ดได้รับความเสียหายได้ผลผลิตลดลง

สาเหตุของการเกิดเชื้อราปนเปื้อนมีหลายประการ เช่น การทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกแล้วในบริเวณฟาร์ม ทำให้เชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อมีฝนตก ลมพัด หรือตกลงไปในน้ำที่นำใช้รดเห็ด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกเช่น หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ การนึ่งฆ่าเชื้อถุงเห็ดที่ทำลายเชื้อไม่หมด ถุงแตกหรือถูกแมลงทำลาย เป็นต้น
สำหรับการป้องกันการเกิดเชื้อราปนเปื้อนในการเพาะเห็ดถุงมีดังนี้
1.ตรวจสอบความสะอาดและความบริสุทธิ์ของหัวเชื้อก่อนซื้อ
2.การถ่ายเชื้อควรทำในห้องที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคอื่นๆ หรือเป็นบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท
3.คัดแยกถุงเห็ดเสีย ถุงเห็ดแตก ถุงเห็ดที่มีจุกสำลีชื้น นำไปนึ่งใหม่หรือเผาทำลายเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา
4.ใช้เชื้อพลายแก้ว หมักขยายเชื้อ ด้วย น้ำมะพร้าว หรือนมUHT หรือไข่ไก่ หรือนมข้นหวาน http://www.thaigreenagro.com/product/order.aspx?productID=107 แล้วแต่ตามวัสดุที่มี หมักขยายเชื้อ จนครบ 24-48 ชั่วโมง ทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 4-5 ครั้งในช่วงที่ระบาดมาก ๆ  โดยการใช้เข็มสลิงฉีดพ่นเข้าไปในก้อนเห็ด
5.รักษาความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด และบริเวณโดยทั่วไปรอบๆ ฟาร์ม
6.เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้ว ควรพักโรงเรือนเพาะเห็ดประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพื่อทำความสะอาดและฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงหรือเชื้อราที่อาจซุกซ่อนตามพื้น เสา และฝาผนังก่อนนำถุงเชื้อเห็ดชุดใหม่เข้ามา ถ้าเป็นไปได้ควรแยกโรงเรือนบ่มกับโรงเรือนเปิดดอกไว้คนละหลังกัน

โรคที่เกิดจากเชื้อบัคเตรี
1.โรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดภูฐาน เกิดจากเชื้อบักเตรีซูโดโมแนส โทลลาสซิไอ ซึ่งมีลักษณะอาการของโรค คือ หมวกเห็ดด้านบนเป็นจุดสีเหลืองอ่อนแล้ว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขยายไปทั่วหมวก ส่วนแผลที่ก้านดอกเป็นปื้นสีเหลืองหรือน้ำตาลแดง แผลจะยุบตัวได้เมื่อให้น้ำไปเกาะที่ตรงส่วนนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายของเชื้อบักเตรี โรคนี้จะทำให้ดอกเห็ดมีขนาดเล็กกว่าปกติ ผิวหมวกมีสีน้ำตาลอ่อนช้ำง่ายไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
2.โรคจุดสีน้ำตาลโรคเน่าเหลืองของเห็ดสกุลนางรม (เห็ดนางรม เห็ดภูฐาน) เกิดจากเชื้อบักเตรีกลุ่มเรืองแสงชื่อ ซูโดโมแนส ฟลูโอเรสเซน โดยเห็ดเป๋าฮื้อจะมีอาการเริ่มแรกสังเกตได้จากดอกเห็ดที่โผล่พ้นคอขวดมีสีเหลืองซีดๆ บางดอกมีลักษณะม้วนงอ ไม่สมบูรณ์ ดอกไม่พัฒนา ส่วนดอกที่เจริญออกมาได้หมวกดอกจะไม่บานเต็มที่ กลุ่มของช่อดอกมีตั้งแต่ 2-4 ดอก ก้านลีบเป็นกระจุก หมวกดอกด้านบนและล่างรวมทั้งก้านดอกมีจุดสีน้ำตาลอ่อนประปราย จากนั้น 1-2 วัน จุดสีน้ำตาลจะเข้มขึ้น และดอกเห็ดบริเวณนี้จะยุบตัว


ส่วนอาการเน่าเหลืองของเห็ดนางรมหรือเห็ดภูฐาน
ดอกเห็ดที่โผล่พ้นคอขวดออกมาจะมีสีเหลือง ดอกมีขนาดเล็กผิดปกติ บางดอกมีลักษณะม้วนงอ ดอกเหี่ยวเหลืองทั้งกระจุกและไม่พัฒนา ซึ่งอาการเหี่ยวเหลืองจะแตกต่างจากอาการเหี่ยวเหลืองที่ดอกเห็ดขาดความชื้นเพียงพอแต่ดอกเห็ดรุ่นใหม่ก็ยังมีอาการเหี่ยวเหลืองอยู่ แสดงว่าเห็ดมีอาการเหี่ยวเหลืองเนื่องจากเชื้อบักเตรี ทำให้เก็บผลิผลิตไม่ได้ และถ้าปริมาณเชื้อบักเตรีมีมาก ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหายหมดทั้งรุ่น

สำหรับการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อบักเตรี มีข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเชื้อบักเตรี ดังนี้
1.ลดความชื้นในโรงเพาะไม่ให้เกิน 80-85 เปอร์เซ็นต์
2.การรดน้ำควรให้ผิวหน้าของดอกเห็ด (ดอกอ่อน) แห้งภายใน 3 ชั่วโมง และหลังการให้น้ำทุกครั้ง ไม่ควรให้มีหยดน้ำเกาะค้างอยู่บนดอกเห็ด
3.หากจำเป็นใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ให้รดน้ำคลอรีน อัตราส่วน 250-300 ซีซี / น้ำ 40 แกลลอน หรือ 10 ซีซี / น้ำ 1 ปี๊บ (น้ำคลอรีน คือการใช้สารละลายคลอร็อกซ์หรือไฮเตอร์ละลายน้ำ เพื่อทำให้ความเข้มข้นเจือจางลง จะได้น้ำคลอรีนที่เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไป)

  1. 1.              โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
พบในเห็ดนางรม โดยมีลักษณะอาการดังนี้ คือ หมวกเห็ดม้วนขึ้นหรืองอลง ดอกมีขนาดเล็ก ขอบดอกไม่เรียบ เมื่อถูกน้ำจะฉ่ำน้ำกว่าปกติ หรือดอกแคระแกร็น ช่อดอกสั้นเป็นกระจุก เชื้อไวรัสชนิดนี้ถ่ายทอดได้โดยวิธีสัมผัส และป้องกันโดยไม่นำดอกที่ไม่รับการตรวจสอบหรือสงสัยว่าเป็นโรคไปทำพันธุ์ (ต่อดอก)
  1. 2.              โรคที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ
โรคที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ คือ โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ได้แก่ ความแปรปรวนของอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคเป็นสาเหตุของความผิดปกติ สำหรับโรคที่เกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุที่พบในประเทศไทย คือ โรคดอกหงิกของเห็ดสกุลนางรม ได้แก่ เห็นนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน เห็ดนางรมฮังการี และเห็ดเป๋าอื้อ โดยคาดคะเนว่าเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เชื้ออ่อนแอ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป หรืออากาศร้อนจัด เป็นต้น


ลักษณะอาการของโรคดอกหงิกที่พบในเห็ดนางรมและเห็ดภูฐาน
จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ดอกเห็ดเกิดเป็นกระจุกๆ ละหลายดอก ประมาณ 5-15 ดอก แต่ละดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 เซนติเมตร บางดอกมีขนาดใหญ่กว่านี้เล็กน้อยแต่ไม่เกิน 4 ซม. หมวกดอกไม่บานหรือไม่คลี่ออก ก้านดอกอาจเกิดเดี่ยวหรือติดเป็นเนื้อเดียวกันจากก้านของดอกเห็ด 3-4 ดอก ไม่มีลักษณะของหมวกดอกปกติให้เห็น ขอบหมวกหงิกงอหยักไปมา หรือขอบหมวกม้วนออก ส่วนอีกลักษณะหนึ่งที่พบ คือ มีความผิดปกติที่ก้านซึ่งค่อนข้างยาวบิดเบี้ยวไม่มีหมวกเห็ด หรือก้านดอกเห็ดใหญ่ผิดปกติ หมวกดอกมีลักษณะเป็นกรวยคล้ายปากแตร ดอกเล็กไม่คลี่บาน ส่วนสีของดอกเห็ดนั้นยังคงมีสีขาวหรือสีขาวนวลปกติหรือสีเทาอ่อน
สำหรับอาการบนเห็ดเป๋าอื้อ จะแตกต่างกับเห็ดนางรมและเห็ดภูฐาน คือ ก้านดอกจะสั้นผิดปกติ มีลักษณะลีบไม่สมบูรณ์ หมวกดอกมีขนาดเล็กบิดเบี้ยว ดอกไม่คลี่บานออก ในดอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะไม่บานเต็มที่ ขอบดอกหยักโค้งไปมา บางดอกขอบอกม้วนลงหงิกงอ หมวกดอกแตกเป็นติ่งเล็กบนก้านดอกเดียวกัน สีดอกเห็ดมีสีเทาดำทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
หากพบเห็ดสกุลนางรมแสดงอาการของโรคดอกหงักดังที่กล่าวจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังนี้
1.การถ่ายเทอากาศ โรงเรือนที่เพาะเห็ดจะต้องมีช่องระบายอากาศอย่างเพียงพอควรเปิดประตูและหน้าต่างในตอนเช้ามือเพื่อระบายอากาศ และป้องกันการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2.แสงสว่าง ตรวจความเข้มของแสงในโรงเพาะให้เพียงพอพอกับการพัฒนาเจริญเติบโตของดอกเห็ด โดยใช้วิธีเปิดช่องหน้าต่างหรือช่องแสง หรือใช้แสงไฟช่วย โดยเฉพาะในช่วงเก็บดอกเห็ดตอนเช้ามือ
3.ความชื้น ควรตรวจตราความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายนอกและภายในโรงเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปความชื้นสัมพันธ์ในระยะเปิดดอกจะอยู่ระหว่าง 80-90 เปอร์เซ็นต์และความชื้นในโรงเพาะจะมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงต่ำของอากาศภายนอก ดังนั้นในฤดูหนาวที่มีอากาศแห้งความชื้นต่ำ ควรใช้ผ้าพลาสติกบุโรงเรือนด้านในปิดประตูหน้าต่างโรงเรือนไว้ป้องกันความชื้นระเหยให้น้ำวันละ 3 เวลา ก็จะช่วยให้โรงเรือนเปิดดอกมีความชื้นพอเหมาะส่วนในฤดูร้อน อุณหภูมิและอากาศภายนอกโรงเรือนจะสูง การรักษาความชื้นจะกระทำโดยให้น้ำวันละหลายครั้ง รวมทั้งน้ำที่พื้นโรงเรือน ข้างฝา และหลังคา มีการระบายอากาศภายในโรงเรือนก็จะช่วยให้โรงเรือนมีความชื้นได้ตามต้องการ
4.สูตรอาหาร จะต้องเป็นสูตรอาหารที่ได้มาตรฐานมีส่วนประกอบที่เหมาะสมกับความต้องการของเห็ด เพราะการเตรียมวัสดุเพาะผิดไป การย่อยสลายของวัสดุเพาะ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ของวัสดุจะไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้คุณภาพของวัสดุเพาะเห็ดและธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไปด้วย

มีเกษตรกรสมัครเล่น(ไม่ขอเอ่ยนาม) ที่เพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานดำ ขายส่งตามตลาดนัด หน้าโรงงาน ในย่านนั้น บอกว่าเดือน 2 เดือนแรกที่เอาเห็ดมาลงไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่พอในช่วงหน้าร้อนต้องให้น้ำบ่อย จึงทำให้ดอกเห็ด เล็ก ฉ่ำน้ำ และมีแมลงเข้ามารบกวน พวกแมลงหวี่ ไรเห็ด เข้ามาทำลายดอก ทำให้ดอกไม่สวย หงิกงอ เป็นสีเหลืองช้ำ ๆ บางทีออกมาดอกไม่ทันจะบานก็แห้งเหี่ยว ส่วนก้อนเชื้อก็มีราเมือก บางก็ราสีส้ม ราเขียว เห็ดออกมาก็ต้องทิ้งอย่างเดี่ยวไม่กล้าเอาไปขายกลัวเสียลูกค้า เพราะเห็ดดอกไม่สวยเลย จนได้เข้ามาปรึกษาที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ทางชมรมได้แนะนำ เชื้อจุลินทรีย์บีเอสพลายแก้ว  ไปกำจัดเชื้อราบาซิลลัสไมโตฟากัส กำจัดไรเห็ด และแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด  กระตุ้นให้เห็ดออกดอกในหน้าร้อน เพื่อให้เพียงพอกับตลาด  วิธีการใช้ของท่านผู้นี้คือ จะใช้เชื้อพลายแก้วหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อนบ้าง  นมไวตามิลล์บ้างแล้วแต่สับเปลี่ยนกันในอัตรา 5 กรัม(1 ช้อนชา) ใส่ลงไปในน้ำมะพร้าวแง้มฝาแล้วใส่เชื้อ ทิ้งไว้ครบ 24 ชั่วโมง  และก็หมัก บาซิลลัส ไมโตฟากัส หมักเช่นเดียวกันกับเชื้อพลายแก้ว ทิ้งไว้ครบ 24 ชั่วโมง โดยการหมักจะหมักแยกกัน  จากนั้นน้ำมา 20 ลิตร ใส่เชื้อทั้ง 2 ตัวที่หมักขยายแล้ว ลง ไป ฉีดพ่นหน้าก้อน ทุก 2-3 วัน ในช่วงที่ระบาดมาก ๆ แล้วก็ใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดฉีดพ่น หน้าก้อนเห็ดบาง ๆ ทุก 3 วัน  ส่วนเรื่องการให้น้ำ จะให้น้ำทุก ๆ 3 ชั่วโมง เปิดสปิงเกอร์แบบเป็นฝอย นาน 1 นาที   ท่านผู้นี้บอกว่าหลังจากที่ได้ใช้เชื้อพลายแก้ว ไมโตฟากัส ไรเห็ดลดน้อยลงเรื่อย ๆ และเชื้อราที่เป็นราเมือก และราส้ม ก็ยังมีอยู่บ้างบางก้อนแต่ก็น้อยลง และเมื่อใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด  เห็ดก็ออกดอกดี เก็บขายได้เยอะดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น